10258 จำนวนผู้เข้าชม |
OTA คืออะไร
OTA ย่อมาจาก Over-The-Air แปลตรงตัวว่าผ่านทางอากาศ ซึ่งในความเป็นจริง OTA คือการถ่ายข้อมูลจากดาวเทียมลงสู่เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมโดยตรง
ปกติหากเราต้องการถ่ายข้อมูลใหม่ ๆ จากคอมพิวเตอร์ เข้าสู่เครื่องรับฯ เราจำเป็นต้องใช้สายอัพโหลดต่อเข้าไปที่พอร์ต RS232 ที่หลังเครื่องรับแต่ละเครื่อง ข้อจำกัดของวิธีการแบบนี้คือ ช่างติดตั้งจำเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และต้องมีคอมพิวเตอร์ที่มีพอร์ต RS232 โดยการอัพโหลดแต่ละครั้งก็ทำได้แค่ครั้งละ 1 เครื่อง ยิ่งเครื่องรับฯ อยู่กระจัดกระจายกันคนละที่ช่างติดตั้งก็ต้องเสียเวลาเดินทางไปตามที่ต่าง ๆ อีกด้วย ประกอบกับดาวเทียมไทยคมที่เราใช้รับชมช่องรายการกันเป็นหลักนั้นมีการจัดสรรความถี่กันบ่อยครั้ง หากทุก ๆ ครั้งที่สถานีไทยคมเปลี่ยนแปลค่าความถี่ นั้นหมายถึงว่า ช่างติดตั้งจะต้องเข้าไปเปลี่ยนความถี่ที่เครื่องรับฯ ตามบ้านลูกค้าแต่ละที่ ซึ่งสร้างความไม่สะดวกและเกิดค่าใช้จ่ายตามมาอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้
ฉะนั้น เทคโนโลยี OTA จะเข้ามาอุช่องโห่วที่ว่านี้ได้ เพราะเมื่อทุกครั้งที่ช่องรายการในดาวเทียมไทยคมมีการเปลี่ยนแปลง PSI จะส่งไฟล์ความถี่ใหม่ขึ้นสู่ดาวเทียมไทยคม เครื่องรับฯ ที่มีฟังก์ชั่นรองรับการ OTA จะรับไฟล์ใหม่นี้ได้ผ่านทางดาวเทียมทันที ณ ขณะนี้เครื่องรับสัญญาณฯ ของ PSI เกือบทุกรุ่นที่รองรับ
OTA สำคัญและมีประโยชน์อย่างไร
ในปัจจุบัน ช่องรายการที่ออกอากาศจะเป็นระบบดิจิตอลเกือบทั้งหมด เพราะข้อดีที่เห็นได้ชัดคือราคาถูก และมีความชัดเจนกว่าระบบอนาล็อกมากกว่าหลายเท่า ประกอบกับกฏหมายด้านโทรคมนาคมในประเทศไทยกำลังเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่านเพราะในขณะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่กฏหมายที่บังคับใช้อยู่นั้นเขียนขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 หากนับย้อนไปเวลากว่า 52 ปี แน่นอนที่สุดว่าเนื้อหาจะล้าหลังชนิดที่จินตนาการไม่ได้เลยทีเดียว ฉะนั้นกฎหมายตัวใหม่จะถูกผลักดันให้มีความคล่องตัว และสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่กำลังใช้อยู่มากขึ้น ที่แน่ ๆ คือจะเป็นการนำเอาช่องรายการที่เกิดขึ้น ก่อหน้านี้หลายสิบช่องกลับมาอยู่ภายใต้การกำกับของหน่วยงานรัฐ เมื่อความชัดเจนเกิดขึ้น อุตสาหกรรมการถ่ายทอดรายการไทยผ่านดาวเทียมจะเฟื่องฟูขึ้นอย่างทวีคูณ นั้นหมายถึงว่าช่องรายการใหม่ ๆ จะเกิดขึ้นมาอีกอย่างต่อเนื่อง ประเด็นสำคัญคือ หากผู้ใช้จานดาวเทียม ไม่ทราบความถี่ใหม่่ ๆ ในแต่ละช่องรายการ หรือรู้แต่จูนเข้าไปในเครื่องรับสัญญาณไม่ได้ ผู้ใช้ก็ไม่สามารถรับชมช่องใหม่ ๆ ได้ หากจูนได้ก็ต้องยอมเสียเวลานั่งเรืยงช่องใหม่ เพราะการค้นหาช่องรายการใหม่ ช่องรายการใหม่จะไปอยู่ท้ายสุดเสมอ หากเราต้องการให้ช่องรายการนั้น ๆ อยู่ในลำดับต้น ๆ เราก็ต้องรู้วิธีการเรืยงช่อง และต้องค่อย ๆ เรียงไป ซึ่งไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าช่องนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องความถี่ หรือหยุดส่งเมื่อใด แต่ถ้าเรามีฟังชั่น OTA ข้อมูลใหม่ ๆ ที่มีการอัพเดทจะถูกถ่ายลงเครื่องรับ โดยอัตโนมัติพร้อมทั้งมีการเรียงช่องให้เสร็จสรรพ ในอนาคตหากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ไม่ต้องมานั่งกังวลอีกต่อไป การ OTA จึงเป็นเทคโนโลยีในการเพิ่มช่องแก้ไขช่องรายการอัตโนมัติผ่านดาวเทียม ซึ่งเกิดประโยชน์ทั้งผู้ส่งรายการ (Content Provider), ช่องติดตั้ง (Installer) และผู้รับชม (End-User) เพราะผู้ส่งรายการก็ไม่ต้องกังวลว่าผู้ชมจะไม่รู้ว่ามีช่องรายการใหม่ ช่างติดตั้งก็ไม่ต้องห่วงว่าหากมีช่องรายการใหม่ๆ มาจะต้องเดินทางไปทำการจูนช่องที่เครื่องรับฯ ทุกๆ บ้านในเวลาเดียวกัน และแน่นอนว่าผู้ใช้หรือผู้รับชมก็สามารถรับรู้ และรับชมช่องรายการใหม่ได้ทันทีหลังจากเครื่องรับฯ ทำการ OTA ผู้ใช้ก็ไม่จำเป็นต้องรอช่างติดตั้งให้ มาคอยบริการ ซึ่งบางครั้งช่างติดตั้งอาจจำเป็นต้องเรียกค่าบริการเพิ่มเติมอีกด้วย
คราวนี้ ก็มาถึงปัญหาของเราบ้าง ว่าทำไมเครื่องของเราไม่ OTA ?
เหตุที่ 1 เครื่องไม่มีระบบ OTA
= นั่นก็อาจจะหมายถึง เครื่องรับสัญญานที่ใช้อยู่นั้น เป็นเครื่องรับสัญญานที่ผลิตออกมาไม่มีระบบ OTA ซึ่งอาจจะหมายถึง เครื่องนั้นลูกค้าได้ซื้อมานานแล้ว สาเหตุนี้ วิธีแก้ก็คือซื้อเครื่องใหม่ครับ
เหตุที่ 2 ซื้อเครื่องเป็น OTA แต่ OTA ทำงาน
= เหตุผลที่ 1 เครื่องเป็นระบบ OTA ระบบเก่า หรือใช้ Chip ที่ต่ำกว่า 3329 เช่น 3328 วิธีแก้ก็คือซื้อเครื่องใหม่ครับ
= เหตุผลที่ 2 ค่าความถี่ที่ตั้งค่าสำหรับการ OTA ไม่ใช่ค่าที่ตรงกับปัจจุบัน วิธีแก้ก็คือ เปลี่ยนการตั้งค่า OTA ใหม่
= เหตุผลที่ 3 เครื่อง OTA ปกติ แต่หลายช่องจอดำ หรือถูกเข้ารหัส อาจจะเป็นเพราะซอฟแวร์ตัวเดิมที่ไม่ใช่รุ่น 250 (อ้างอิงจากบริษัทดาวเทียม) ต้องทำการอัพเดตซอฟแวร์รุ่นใหม่ เพื่อแก้รหัส BISSKEY ตัวใหม่
= เหตุผลที่ 4 ความจริงแล้วเครื่องมันก็ปกติทุกอย่าง แต่สัญญานคุณภาพของจานรับสัญญานดาวเทียม ที่ติดตั้งเอาไว้ มีคุณภาพสัญญานที่ไม่แรงพอที่เครื่องจะค้นหาซอฟแวร์เพื่อจะอัพเดตเครื่องด้วยตนเองได้ (สาเหตุนี้ เป็นมาก)
= เหตุผลที่ 5 ลูกค้าบางคน หรือช่างบางท่าน ทำการปิดคำสั่ง OTA เอาไว้ ทำให้ฟังก์ชั่น OTA ไม่ถูกเรียกใช้งาน
= เหตุผลที่ 6 ความจริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย คือ เครื่องเสีย ปกติก็รับสัญญานไม่ได้อยู่แล้ว ...
........... จากเหตุผล ดังกล่าวข้างต้น เป็นการวิเคราะห์ สาเหตุของเครื่องเบื้องต้น ซึ่งบางทีลูกค้า หรือช่างที่ไม่คุ้นเคย อาจจะหาสาเหตุไม่ได้ ว่าสรุปเครื่องที่มีอยู่ในมือนั้น มันตรงกับสาเหตุใดกันแน่ ทางที่ดีที่สุด ควรปรึกษาร้านจานดาวเทียมที่เชื่อถือได้ ใกล้บ้านท่าน เพื่อหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข ต่อไปครับ ............