ทำความรู้จักระบบ OTA

10260 Views  | 

ทำความรู้จักระบบ OTA

OTA คืออะไร
OTA ย่อมาจาก Over-The-Air แปลตรงตัวว่าผ่านทางอากาศ ซึ่งในความเป็นจริง OTA คือการถ่ายข้อมูลจากดาวเทียมลงสู่เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมโดยตรง

ปกติหากเราต้องการถ่ายข้อมูลใหม่ ๆ จากคอมพิวเตอร์ เข้าสู่เครื่องรับฯ เราจำเป็นต้องใช้สายอัพโหลดต่อเข้าไปที่พอร์ต RS232 ที่หลังเครื่องรับแต่ละเครื่อง ข้อจำกัดของวิธีการแบบนี้คือ ช่างติดตั้งจำเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และต้องมีคอมพิวเตอร์ที่มีพอร์ต RS232 โดยการอัพโหลดแต่ละครั้งก็ทำได้แค่ครั้งละ 1 เครื่อง ยิ่งเครื่องรับฯ อยู่กระจัดกระจายกันคนละที่ช่างติดตั้งก็ต้องเสียเวลาเดินทางไปตามที่ต่าง ๆ อีกด้วย ประกอบกับดาวเทียมไทยคมที่เราใช้รับชมช่องรายการกันเป็นหลักนั้นมีการจัดสรรความถี่กันบ่อยครั้ง หากทุก ๆ ครั้งที่สถานีไทยคมเปลี่ยนแปลค่าความถี่ นั้นหมายถึงว่า ช่างติดตั้งจะต้องเข้าไปเปลี่ยนความถี่ที่เครื่องรับฯ ตามบ้านลูกค้าแต่ละที่ ซึ่งสร้างความไม่สะดวกและเกิดค่าใช้จ่ายตามมาอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้

ฉะนั้น เทคโนโลยี OTA จะเข้ามาอุช่องโห่วที่ว่านี้ได้ เพราะเมื่อทุกครั้งที่ช่องรายการในดาวเทียมไทยคมมีการเปลี่ยนแปลง PSI จะส่งไฟล์ความถี่ใหม่ขึ้นสู่ดาวเทียมไทยคม เครื่องรับฯ ที่มีฟังก์ชั่นรองรับการ OTA จะรับไฟล์ใหม่นี้ได้ผ่านทางดาวเทียมทันที ณ ขณะนี้เครื่องรับสัญญาณฯ ของ PSI เกือบทุกรุ่นที่รองรับ

OTA สำคัญและมีประโยชน์อย่างไร
ในปัจจุบัน ช่องรายการที่ออกอากาศจะเป็นระบบดิจิตอลเกือบทั้งหมด เพราะข้อดีที่เห็นได้ชัดคือราคาถูก และมีความชัดเจนกว่าระบบอนาล็อกมากกว่าหลายเท่า ประกอบกับกฏหมายด้านโทรคมนาคมในประเทศไทยกำลังเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่านเพราะในขณะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่กฏหมายที่บังคับใช้อยู่นั้นเขียนขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 หากนับย้อนไปเวลากว่า 52 ปี แน่นอนที่สุดว่าเนื้อหาจะล้าหลังชนิดที่จินตนาการไม่ได้เลยทีเดียว ฉะนั้นกฎหมายตัวใหม่จะถูกผลักดันให้มีความคล่องตัว และสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่กำลังใช้อยู่มากขึ้น ที่แน่ ๆ คือจะเป็นการนำเอาช่องรายการที่เกิดขึ้น ก่อหน้านี้หลายสิบช่องกลับมาอยู่ภายใต้การกำกับของหน่วยงานรัฐ เมื่อความชัดเจนเกิดขึ้น อุตสาหกรรมการถ่ายทอดรายการไทยผ่านดาวเทียมจะเฟื่องฟูขึ้นอย่างทวีคูณ นั้นหมายถึงว่าช่องรายการใหม่ ๆ จะเกิดขึ้นมาอีกอย่างต่อเนื่อง ประเด็นสำคัญคือ หากผู้ใช้จานดาวเทียม ไม่ทราบความถี่ใหม่่ ๆ ในแต่ละช่องรายการ หรือรู้แต่จูนเข้าไปในเครื่องรับสัญญาณไม่ได้ ผู้ใช้ก็ไม่สามารถรับชมช่องใหม่ ๆ ได้ หากจูนได้ก็ต้องยอมเสียเวลานั่งเรืยงช่องใหม่ เพราะการค้นหาช่องรายการใหม่  ช่องรายการใหม่จะไปอยู่ท้ายสุดเสมอ  หากเราต้องการให้ช่องรายการนั้น ๆ อยู่ในลำดับต้น ๆ เราก็ต้องรู้วิธีการเรืยงช่อง และต้องค่อย ๆ เรียงไป ซึ่งไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าช่องนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องความถี่ หรือหยุดส่งเมื่อใด แต่ถ้าเรามีฟังชั่น OTA ข้อมูลใหม่ ๆ ที่มีการอัพเดทจะถูกถ่ายลงเครื่องรับ โดยอัตโนมัติพร้อมทั้งมีการเรียงช่องให้เสร็จสรรพ ในอนาคตหากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ไม่ต้องมานั่งกังวลอีกต่อไป การ OTA จึงเป็นเทคโนโลยีในการเพิ่มช่องแก้ไขช่องรายการอัตโนมัติผ่านดาวเทียม ซึ่งเกิดประโยชน์ทั้งผู้ส่งรายการ (Content Provider), ช่องติดตั้ง (Installer) และผู้รับชม (End-User) เพราะผู้ส่งรายการก็ไม่ต้องกังวลว่าผู้ชมจะไม่รู้ว่ามีช่องรายการใหม่ ช่างติดตั้งก็ไม่ต้องห่วงว่าหากมีช่องรายการใหม่ๆ  มาจะต้องเดินทางไปทำการจูนช่องที่เครื่องรับฯ ทุกๆ บ้านในเวลาเดียวกัน และแน่นอนว่าผู้ใช้หรือผู้รับชมก็สามารถรับรู้ และรับชมช่องรายการใหม่ได้ทันทีหลังจากเครื่องรับฯ ทำการ OTA ผู้ใช้ก็ไม่จำเป็นต้องรอช่างติดตั้งให้ มาคอยบริการ ซึ่งบางครั้งช่างติดตั้งอาจจำเป็นต้องเรียกค่าบริการเพิ่มเติมอีกด้วย
คราวนี้ ก็มาถึงปัญหาของเราบ้าง ว่าทำไมเครื่องของเราไม่ OTA ?

เหตุที่ 1 เครื่องไม่มีระบบ OTA
= นั่นก็อาจจะหมายถึง เครื่องรับสัญญานที่ใช้อยู่นั้น เป็นเครื่องรับสัญญานที่ผลิตออกมาไม่มีระบบ OTA ซึ่งอาจจะหมายถึง เครื่องนั้นลูกค้าได้ซื้อมานานแล้ว สาเหตุนี้ วิธีแก้ก็คือซื้อเครื่องใหม่ครับ

เหตุที่ 2 ซื้อเครื่องเป็น OTA แต่ OTA ทำงาน
= เหตุผลที่ 1 เครื่องเป็นระบบ OTA ระบบเก่า หรือใช้ Chip ที่ต่ำกว่า 3329 เช่น 3328 วิธีแก้ก็คือซื้อเครื่องใหม่ครับ

= เหตุผลที่ 2 ค่าความถี่ที่ตั้งค่าสำหรับการ OTA ไม่ใช่ค่าที่ตรงกับปัจจุบัน วิธีแก้ก็คือ เปลี่ยนการตั้งค่า OTA ใหม่

= เหตุผลที่ 3 เครื่อง OTA ปกติ แต่หลายช่องจอดำ หรือถูกเข้ารหัส อาจจะเป็นเพราะซอฟแวร์ตัวเดิมที่ไม่ใช่รุ่น 250 (อ้างอิงจากบริษัทดาวเทียม) ต้องทำการอัพเดตซอฟแวร์รุ่นใหม่ เพื่อแก้รหัส BISSKEY ตัวใหม่

= เหตุผลที่ 4 ความจริงแล้วเครื่องมันก็ปกติทุกอย่าง แต่สัญญานคุณภาพของจานรับสัญญานดาวเทียม ที่ติดตั้งเอาไว้ มีคุณภาพสัญญานที่ไม่แรงพอที่เครื่องจะค้นหาซอฟแวร์เพื่อจะอัพเดตเครื่องด้วยตนเองได้ (สาเหตุนี้ เป็นมาก)

= เหตุผลที่ 5 ลูกค้าบางคน หรือช่างบางท่าน ทำการปิดคำสั่ง OTA เอาไว้ ทำให้ฟังก์ชั่น OTA ไม่ถูกเรียกใช้งาน

= เหตุผลที่ 6 ความจริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย คือ เครื่องเสีย ปกติก็รับสัญญานไม่ได้อยู่แล้ว ...

........... จากเหตุผล ดังกล่าวข้างต้น เป็นการวิเคราะห์ สาเหตุของเครื่องเบื้องต้น ซึ่งบางทีลูกค้า หรือช่างที่ไม่คุ้นเคย อาจจะหาสาเหตุไม่ได้ ว่าสรุปเครื่องที่มีอยู่ในมือนั้น มันตรงกับสาเหตุใดกันแน่ ทางที่ดีที่สุด ควรปรึกษาร้านจานดาวเทียมที่เชื่อถือได้ ใกล้บ้านท่าน เพื่อหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข ต่อไปครับ ............

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy