บทความกล้องวงจรปิด

5453 Views  | 

บทความกล้องวงจรปิด

กล้องวงจรปิด หรือ CCTV (Closed-Circuit Television) คือ การใช้กล้องวีดีโอส่งสัญญาณภาพจากสถานที่หนึ่งไปยังหน้าจอมอนิเตอร์ที่กำหนดไว้ เป็นระบบที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัย และดูแลสอดส่องสถานการณ์ในสถานที่นั้นๆ
  ประโยชน์ของกล้องวงจรปิด
1.ใช้ในการดูแลสอดส่องสถานที่เพื่อรักษาความปลอดภัยและควบคุมสถานการณ์
2.ใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลในกรณีที่ไม่สามารถใช้แรงงานคนควบคุมดูแลได้อย่างทั่วถึงหรือในกรณีที่อาจเกิดอันตรายได้ เช่น การให้ผู้ควบคุมการทำงานของรถไฟฟ้าใต้ดินใช้กล้องวงจรในการตรวจสอบว่าไม่มีคนหรือผู้โดยสารกีดขวางอยู่ที่หน้าประตู ก่อนจะปิดประตูและเริ่มการขับเคลื่อนรถไฟฟ้าใต้ดินออกจากสถานี
3.ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมการทำงานของลูกจ้างเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานหรือการให้บริการ รวมถึงการตรวจตราและควบคุมความเรียบร้อยในการทำงานของลูกจ้างเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
4.ใช้ร่วมกับระบบควบคุมการจราจรภายในและภายนอกสถานที่ ตรวจสอบความหน้าแน่นและปริมาณรถยนต์บนท้องถนนหรือในที่จอดรถ
5.ใช้ร่วมกันอุปกรณ์บันทึกภาพจากกล้องวงจรปิด เช่น DVR เพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆ เก็บไว้ เพื่อประโยขน์ในการศึกษาและพัฒนาการทำงานขององค์กร  ตรวจสอบความเรียบร้อยในการทำงาน และเพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีต่างๆ ฯลฯ
อุปกรณ์รับสัญญาณและบันทึกภาพ
 ในปัจจุบัน การบันทึกภาพจะใช้การบันทึกลงฮาร์ดดิสก์ ซึ่งต่างจากในยุคแรกๆ ที่จะบันทึกลงม้วนเทป ซึ่งอุปกรณ์หลักที่ใช้บันทึกลงบนฮาร์ดดิสก์ก็คือ Digital Video Recorder หรือ DVR นั่นเอง
DVR แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1.Stand Alone DVR
2.PC Base DVR

 DVR รุ่นที่เป็นที่นิยมมากที่สุดเนื่องจากติดตั้งง่ายและราคาไม่แพงก็คือ Stand Alone DVR (Stand Alone Digital Video Recorder) ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องรับภาพและบันทึกภาพลงบนฮาร์ดดิสก์ ในบางรุ่นสามารถทำงานบนระบบเครือข่ายได้ด้วย ด้วยวิธีต่อกล้องวงจรปิด ตั้งค่ากล้องวงจรปิด และใช้งานกล้องวงจรปิดที่สามารถทำได้อย่างง่ายดาย หากผู้ใช้งานหรือตัวผู้ติดตั้งเองมีความรู้เรื่องระบบไฟฟ้าในบ้านพอสมควร ก็จะสามารถซื้อ Stand Alone DVR และกล้องวงจรปิดพร้อมติดตั้งและใช้งานด้วยตัวเองได้อย่างง่ายดาย
ในส่วนของ PC Base DVR ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากต้องมีการติดตั้งการ์ดรับสัญญาณภาพเข้าไปที่ PCT Slot ของเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี ผู้ใช้ต้องมีความรู้พื้นฐานรวมถึง รายละเอียดทางด้านเทคนิคของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ดีพอสมควร และการที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์พีซีร่วมด้วยทำให้การติดตั้งค่อนข้างยุ่งยากและต้นทุนในการติดตั้งก็เพิ่มขึ้นด้วย
Stand Alone DVR ประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลัก 8 ส่วน คือ
ส่วนรับสัญญาณภาพ
ส่วนเก็บบันทึกข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์
ส่วนส่งออกข้อมูลเพื่อใช้เป็นหลักฐาน เช่น SD-Card, USB Drive, CD-DVD-Blue Ray Disk เป็นต้น
ส่วนส่งสัญญาณภาพออกไปแสดงยังจอรับภาพ
ส่วนรับส่งสัญญาณแจ้งเตือนต่างๆ
ส่วนควบคุมการ PTZ สำหรับกล้อง PTZ เช่น RS 232, -RS 485
ส่วนรับคำสั่ง ได้แก่ ปุ่มกดต่างๆ ที่อยู๋หน้าเครื่อง, เมาส์, คีย์บอร์ด, จอยสติกส์ เป็นต้น
ส่วนเชื่อต่อกับเครือข่ายและอื่นๆ ได้แก่ Port LAN, Host Interface Port สำหรับเชื่อมต่อกับ External Storage

***เลือกกล้องวงจรปิดให้เหมาะกับการใช้งาน

เลือกประเภทของกล้องให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น ต้องการจับภาพทั้งกลางวันและกลางคืนที่มีแสงสว่างน้อย ให้เลือกกล้องที่มีหลอดไฟอินฟราเรด ถ้าต้องการติดตั้งกล้องภายนอกอาคาร ให้เลือกกล้องที่สามารถกันน้ำได้ หรือติดตั้งในสถานที่ที่ย้อนแสง กล้องที่ใช้ควรจะมีระบบย้อนแสง BLC เป็นระบบย้อนแสงที่เฉลี่ยแสงมาไว้ที่กลางภาพ ทำให้วัตถุที่อยู่ในบริเวณกลางภาพสว่างขึ้น เป็นต้น
เลือกความละเอียดของภาพ (TVL หรือ TV Line) ยิ่งความละเอียดของภาพสูงเท่าไหร่ ความคมชัดของภาพจะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ในปัจจุบัน ความะเอียดมีให้เลือกหลากหลายตั้งแต่ 330, 350, 380, 420, 480, 520, 540, 620, 700 TVL เป็นต้น
ความสามารถในการรับแสง Illumination (LUX) เป็นความสามารถในการรับภาพในที่มืด (ส่วางน้อย) ค่า LUX ยิ่งต่ำยิ่งดี เช่น 0.5, 1, 2 LUX เนื่องจากความต้องการใช้แสงของกล้องต่ำ ในทางกลับกัน หากแสงสว่างไม่เพียงพอ ภาพที่เราเห็นจะมีลักษณะเป็นเม็ดๆ

IP Rating คืออะไร?

IP (หรือ “Ingress Protection”) เรทติ้ง ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานสากล EN 60529 (British BS EN 60529:1992, European IEC 60509:1989) ใช้เพื่อกำหนดระดับของประสิทธิภาพการป้องกันภายนอกเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อวัตถุแปลกปลอม (เช่น วัสดุต่างๆ ฝุ่น ฯลฯ) และความชื้น

ตัวเลขที่กำกับ IP Rating หมายถึงอะไร?

ตัวเลขที่ตามหลัง IP แต่ละตัวมีความหมาย โดยตัวเลขตัวแรกหมายถึงระดับของการป้องกัน (จากคน) จากส่วนประกอบ รวมถึงการป้องกันชิ้นส่วนภายในต่อวัตถุแปลกปลอม ตัวเลขตัวที่สองกำหนดระดับการป้องกันความเปียกชื้นในระดับต่างๆ กัน (เช่น จุ่มน้ำ ละอองน้ำ จมน้ำ)

ความหมายของตัวเลข IP

ตำแหน่งตัวเลขที่ใช้ x (เช่น IPxx) แทนตัวเลข หมายถึง ไม่ได้รับการจัดลำดับการปกป้องในคุณสมบัตินั้นๆ

ตัวเลขในตำแหน่งแรก (การป้องกันการบุกรุก ล่วงล้ำ)

0 ไม่มีการป้องกันเป็นพิเศษ
1 ป้องกันการสัมผัสโดยอวัยวะชิ้นใหญ่ของร่างกาย เช่น มือ จากวัตถุเป็นของแข็งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดมากกว่า 50 มิลลิเมตร แต่ไม่มีการป้องกันจากการสัมผัสโดยเจตนา
2 ป้องกันการสัมผัสด้วยนิ้วมือหรือวัตถุอื่นๆ ที่มีความยาวไม่เกิน 80 มิลลิเมตร และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 12 มิลลิเมตร
3 ป้องกันการเข้าถึงจากเครื่องมือ เส้นสายต่างๆ ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 มม. หรือมากกว่า
4 ป้องกันวัตถุของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มม. (เช่น เครื่องมือขนาดเล็ก บาง เป็นต้น)
5 ป้องกันฝุ่นละอองที่อาจทำให้อุปกรณ์เสียหาย
6 ฝุ่นละอองไม่อาจเข้าไปข้างในอุปกรณ์นั้นๆ ได้
ตัวเลขในตำแหน่งที่สอง (การป้องกันความชื้น)

0 ไม่มีการป้องกัน
1 ป้องกันความชื้นจากไอน้ำ
2 ป้องกันความชื้นจากหยดน้ำที่ตกกระทบเข้ามาได้ถึง 15 องศาในแนวตั้ง
3 ป้องกันความชื้นจากละอองน้ำได้ถึง 60 องศาในแนวตั้ง
4 ป้องกันความชื้นจากละอองน้ำจากทุกทิศทาง
5 ป้องกันความชื้นจากการฉีดพ่นน้ำปริมาณเล็กน้อยจากทุกทิศทาง
6 ป้องกันความชื้นจากน้ำ เช่น ฝนตก ฝนสาด
7 ป้องกันความชื้นจากการจุ่มน้ำในระยะเวลาสั้นๆ
8 ป้องกันความชื้นจากการช่น้ำเป็นเวลานานภายใต้ความกดดัน

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy